วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2556

 เรื่อง มารยาทชาวพุทธ
สาระสำคัญ
   มารยาทชาวพุทธ  เป็นการแสดงออกที่มีแบบแผน  ในการประพฤติปฏิบัติ ซึ้งเป็นแนวปฎิบัติที่ทำให้สมาชิกในสังคม สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างดี โดยเฉพาะมารยาทชาวพุทธที่หล่อหลอมมาจาก หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา เป็นกริยาวาจาที่บุคคลในสังคมพึงปฎิบัติต่อกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม จนนับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางศาสนา  ที่มีลักษณะเฉพาะของชาวพุทธในประเทศไทย  แม้จะไม่สำคัญเท่าหลักธรรมคำสอนโดยตรง  แต่ก็มีส่วนในการสร้างความรัก  ความสามัคคี  อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของสังคมไทย  ที่คนไทยทุกคนควรประพฤติปฏิบัติและสืบทอดต่อไป

เนื้อหา
มารยาทชาวพุทธ                                                                   
        
1. มารยาทในสังคม
2. มารยาทในการแต่งกาย 

3. มารยาทในการยืน
4. มารยาทในการเดิน
5. มารยาทในการนั่ง
6. มารยาทในการไหว้
7. มารยาทในการกราบ
8. มารยาทในการใช้กิริยาวาจา


มารยาทในสังคมไทย
เป็นสิ่งที่ดีงามในสมัยก่อนนั้น มารยาทชาวพุทธ จะถูกปลูกฝังมาจากครอบครัวและคำสอนทางพระพุทธศาสนา จนนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางศาสนาที่มีลักษณะเฉพาะของชาวพุทธในประเทศไทย วัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย

การแต่งกายไปวัด 
          วัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ชาวพุทธจึงควรปฏิบัติตนต่อวัดด้วยความสุภาพและความเคารพ เพื่อให้เกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตัวเอง โดยปฏิบัติดังนี้คือ - ควรแต่งกายให้สะอาดเรียบร้อยสีเรียบ ๆ ไม่มีลวดลายหรือสีฉูดฉาด ไม่รัดรูปเพื่อสะดวกในการกราบไหว้ และทำสมาธิ - วัดมิใช่ที่ที่คนจะแต่งตัวไปอวดความร่ำรวยกัน วัดควรเป็นที่เราไปเพื่อขัดเกลากิเลสมากกว่า จึงไม่ควรแต่งกายให้หรูหราล้ำสมัยใส่เครื่องประดับรุงรัง ไม่ควรใส่น้ำหอมที่มีกลิ่นรุนแรงจะทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน - บุรุษควรแต่งกายเรียบร้อย ไม่ปล่อยชายเสื้อ ทรงผมตัดสั้นหรือหวีเรียบร้อย ไม่ใส่น้ำมันกลิ่นรุนแรงรบกวนผู้อื่น - สตรีไม่ควรแต่งกายแบบวับ ๆ แวม ๆ หรือใส่เสื้อบางจนเห็นเสื้อชั้นใน กระโปรงไม่ควรสั้นจนน่าเกลียด หรือผ่าหน้าผ่าหลังเพื่อเปิดเผยร่างกาย

การแต่งกายไปงานมงคล 
          คือ การทำบุญเลี้ยงพระเพื่อความสุขความเจริญแก่จิตใจ เช่น ทำบุญวันเกิด ขึ้นบ้านใหม่ งานมงคลสมรส การแสดงความยินดีในโอกาสต่าง ๆ เป็นต้น ควรแต่งกายดังนี้ - ควรแต่งกายเรียบร้อย สีสวยงามตามสมัยนิยม เหมาะสมกับงาน - ใส่เครื่องประดับพอประมาณ แต่ไม่ควรหรูหราฟุ่มเฟือยจนเกินพอดี - ขนาดพอดี ลุก นั่งได้สะดวก ไม่น่าเกลียด
การแต่งกายไปงานอวมงคล
งานอวมงคล คือ การทำบุญเลี้ยงพระที่เกี่ยวกับเรื่องการตาย นิยมทำกันอยู่ 2 อย่างคือทำบุญ หน้าศพ เรียกว่าทำบุญ 7 วัน 50 วัน หรือ 100 วัน และทำบุญอัฐิในวันคล้ายวันตายของผู้ล่วงลับ - ถ้าเป็นงานศพควรเป็นสีขาวหรือสีดำ - ถ้าเป็นวันทำบุญอัฐ ควรแต่งกายเรียบร้อย สีเรียบ ๆ ไม่มีลวดลายหรือฉูดฉาด จนเกินควร เหมาะสมกับงาน ไม่ใส่เครื่องประดับหรูหราฟุ่มเฟือยจนเกินพอดี

มารยาทการยืน การเดิน การนั่ง
มารยาทการยืน


 



การยืนตามลำพัง
ขาทั้งสองข้างชิดกัน หรืออยู่ในท่าพักแขน ปล่อย
แนบลำตัวหรือจะประสานไว้ข้างหน้าเล็กน้อย จะยืนเอียง
ข้างนิดหน่อยก็ได้  แต่ต้องให้อยู่ในท่วงที ที่สง่างาม
อย่ายืนขากาง แกว่งแขน หันหน้าไปมา ลุกลี้ลุกลนหรือ


                                                           

การยืนเฉพาะหน้าผู้ใหญ่
ถ้าไม่จำเป็นไม่ควรยืนตรงหน้าผู้ใหญ่ แต่ควรยืนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง ดังนี้คือ ยืนตรง
ขาชิดปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือทั้งสองแนบชิดข้าง ท่าทางสำรวม
การประสานมือทำได้ ๒ วิธี
คว่ำมือซ้อนกัน จะเป็นมือไหนทับมือไหนก็ได้
๒. หงายมือทั้ง ๒ สอดนิ้วเข้าระหว่างช่องนิ้วของแต่ละนิ้ว

มารยาทการเดิน

 

วิธีเดินเข่า

                  ๑. นั่งคุกเข่าตัวตรง มือทั้งสองข้างปล่อยตามสบายอยู่ข้าง ๆ ลำตัว
๒. ยกเข่าขวา-ซ้ายก้าวไปข้างหน้าสลับกันไปมา ปลายเท้าตั้งช่วงก้าวของเข่ามีระยะพองาม ไม่กระชั้น     เกินไป มือไม่แกว่ง หากผ่านผู้ใหญ่ให้ก้มเล็กน้อย ขณะเดินเข่าระมัดระวังอย่าให้ปลายขาทั้งสองแกว่ง ไปมา ขณะก้าวเข่าอย่าให้ปลายเท้าลากพื้นจนมีเสียงดัง


 ๓. เมื่อจะลุกจากการเดินเข่า ให้ชันเข่าข้างหนึ่งข้างใดมาข้างหน้า อีกข้างหนึ่งกดลงไปกับพื้นแล้วยกตัวขึ้นช้า ๆ

การเดินตามลำพัง

     ให้เดินอย่างสุภาพหลังตรงช่วงก้าวไม่ยาวหรือสั้นจนเกินไป แกว่งแขนแต่พองาม สำหรับผู้หญิงขณะเดินให้ระมัดระวังการแกว่งแขนและสะโพกให้อยู่ในอิริยาบถที่เป็นไปโดยธรรมชาติ
   การเดินกับผู้ใหญ่ 
 

ให้เดินไปทางซ้ายค่อนไปทางหลังเล็กน้อย เว้นแต่ต้องเดินในที่จำกัด จึงเดินตามหลังเป็นแถว
ท่าเดินต้องนอบน้อมช่วงก้าวพองาม อย่าเดินส่ายตัว หรือโคลงศีรษะในกรณีที่ต้องเดินตามหลังระยะใกล้ ๆ
ต้องคอยสังเกตว่า ผู้ใหญ่ที่เดินนำอยู่นั้นจะหยุด  ณ ที่แห่งใด จะได้ชลอฝีเท้าลง ป้องกันมิให้เดิน ชนท่าน

มารยาทการนั่ง
 เป็นการนั่งที่นิยมกันในหมู่ชาวพุทธ ถือว่าสุภาพเรียบร้อย สวยงามน่าดูน่าชมปฏิบัติกันมาแต่โบราณกาล   
จนถึงทุกวันนี้ นิยมปฏิบัติประจำทั้งทางโลก และทางธรรม โดยเฉพาะขณะเข้าร่วมประชุม ณ สถานที่ซึ่งต้องนั่งกับพื้น

วิธีนั่งพับเพียบ

 
๑.การนั่งพับเพียบขวา ให้นั่งพับขาขวาปลายเท้าขวาหันไปทางด้านหลัง หงายฝ่าเท้าซ้ายขึ้นวาง ขาขวาทับฝ่าเท้าซ้าย หรือเพียงแค่แตะจรดขาขวาบริเวณหัวเข่า ตั้งกายให้ตรงระวังอย่าให้นิ้วเท้าซ้ายเกินหัวเข่าขวาออกมาข้างหน้า (ดังรูป)

 

๒.การนั่งพับเพียบซ้าย ให้นั่งพับขาซ้ายปลายเท้าซ้ายหันไปด้านหลัง หงายฝ่าเท้าขวาขึ้นวาง ขาซ้ายทับฝ่าเท้าขวา หรือเพียงแค่แตะจรดขาขวาบริเวณหัวเข่า ตั้งกายให้ตรง ระวังอย่าให้นิ้วเท้าขวาเกินหัวเข่าออกมาข้างหน้

 

วิธีการเปลี่ยนท่านั่งพับเพีย
ใช้มือทั้งสองยันที่หัวเข่าทั้งสอง หรือยันพื้น ด้านข้างลำตัวหรือด้านหน้า แล้วกระหย่งตัวขึ้นพร้อม กับพลิกเปลี่ยนเท้าพับไปอีกข้างหนึ่ง โดยพลิกเท้า ผลัดเปลี่ยนกันอยู่ด้านหลังไม่นิยมยกมาผลัดเปลี่ยน  ทางด้านหน้า


การประนมมือ (อัญชลี)

        นิยมใช้แสดงความเคารพพระรัตนตรัย ในเวลาฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ สวดพระอภิธรรม ฟังพระธรรมเทศนา เป็นต้น
    
   วิธีการประนมมือ        
              ยกมือทั้งสองขึ้นประกบกัน ตั้ง เป็นกระพุ่มมือประนมไว้ระหว่างอก ให้ปลายมือตั้งขึ้น ข้างบนนิ้วมือ
ทั้งสองข้าง ทุกนิ้วแนบชิดสนิทกัน อย่าให้เหลื่อมล้ำกันอย่าให้กางห่างออกจากกัน ข้อศอกทั้งสองแนบชิดชายโครง  (ดังรูป)
              การประนมมือนี้เป็นกิริยาอาการที่แสดงความเคารพพระรัตนตรัย จึงนิยมทำด้วยความเรียบร้อยตั้งใจไม่นิยมปล่อยให้นิ้วมืองอหงิก นิยมตั้งกระพุ่มไว้ระหว่างอกเอียงกับลำตัวประมาณ ๔๕ องศา ไม่ยกให้สูงจรดคางหรือจรดปาก ไม่ปล่อยปลายมือให้ตกต่ำลงมาวางอยู่ที่ท้องหรือวางไว้ที่หน้าตักหรือหัวเข่า
การไหว้พระรัตนตรัย 
         นิยมแสดงความเคารพพระรัตนตรัยด้วยการไหว้เมื่อนั่งเก้าอี้หรือยืนอยู่ มีวิธีการทำดังนี้คือ

         ๑. ประนมมือไว้ระหว่างอก
         ๒. ยกมือประนมขึ้นพร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อย ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้ว ให้ปลายนิ้วชี้
            จรดหน้าผาก ทำเพียงครั้งเดียว แล้วลดมือลงตามเดิม (ดังรูป)

การไหว้บุคคล การไหว้ซึ่งกันและกันนั้นนิยมปฏิบัติเพื่อความ
          เหมาะสมแก่ชั้นและวัยของบุคคลนั้น ๆ                                                              
          มี ๓ แบบ คือ

                    ๑. การไหว้บุคคลผู้มีอายุมากกว่า (เป็นผู้ใหญ่มากกว่า)
          ๒. การไหว้บุคคลผู้มีอายุเสมอกัน                                                   

          ๓. การไหว้บุคคลผู้มีอายุน้อยกว่า
                 
                   ๑. การไหว้บุคคลที่มีอายุมากกว่า
      สำหรับผู้น้อย ปฏิบัติต่อผู้ใหญ่ โดย ถือหลักมีชาติกำเนิดสูงกว่า มีคุณธรรมความดีได้รับยกย่องให้เป็นผู้ปกครอง บังคับบัญชา และมีอายุแก่กว่าตน                                                  
                การไหว้นิยมยกกระพุ่มมือขึ้นไหว้ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ระหว่างคิ้วนิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่บนดั้งจมูกพร้อมกับก้มศีรษะน้อมตัวลงพองาม สายตามองดูท่านด้วยความเคารพอ่อนน้อมถ่อมตน                                                                                                                      

                       ๒. การไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสเสมอกันนิยมยกมือกระพุ่มขึ้นไหว้ ให้ปลายนิ้วชี้อยู่ที่ดั้งจมูก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ที่คางก้มศีรษะเล็กน้อยสายตามองกันและกันด้วยความหวังดีปราถนาดีต่อกัน 
                  

  ๓.  การรับไหว้บุคคลผู้มีอาวุโสน้อยกว่าใสำหรับผู้ใหญ่รับไหว้ผู้น้อย นิยมยกกระพุ่มมือขึ้นประนมอยู่ระหว่างอกหรือที่หน้าให้ปลายนิ้วชี้อยู่ที่ตั้งจมูกปลายนิ้วอยู่ที่ดั้งจมูกปลายนิ้วหัวแม่ มืออยู่ที่คางสายตามองดูผู้ไหว้ ด้วยความปราถนาดี


   มารยาททางวาจา
มารยาททางวาจาก็คือบุคลิกภาพที่ปรากฏในสังคมที่เกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำสำเนียงต่อบุคคลทั่วไป เช่นการใช้ถ้อยคำที่สุภาพ ไม่พูดเหยียดหยามผู้อื่น การใช้ว่าคำว่ากรุณาเมื่อต้องการความช่วยเหลือจากผู้อื่น การกล่าวคำขอโทษเมื่อทำผิดพลาด  การกล่าวคำขอบคุณเมื่อได้รับความช่วยเหลือ  ไม่ส่งเสียงดังก่อความรำคาญ  ไม่พูดจาโอ้อวดตนเอง ใช้สำเนียงการพูดที่นุ่มนวลเป็นกันเอง ฝึกใช้คำราชาศัพท์และใช้เมื่อโอกาสเหมาะสม

มารยาทการเเนะนำ
การแนะนำตัวและการแนะนำให้ผู้อื่นรู้จักกันถือเป็นมารยาททางสังคมแบบหนึ่ง ดังนั้นจึงควรทราบวิธีการแนะนำที่เหมาะสม  เช่น เมื่อต้องการแนะนำบุรุษแก่สตรีที่มีวัยอาวุโสใกล้เคียงกัน ควรใช้ว่า คุณคัทลิยาคะ อนุญาตให้ดิฉันแนะนำ ร้อยตำรวจโทพิชิต ปราบไพรพาล สารวัตรประจำสถานีตำรวจบางเขน แก่คุณคะ   และแนะนำให้ฝ่ายบุรุษรู้จักฝ่ายสตรี  คุณคัทลิยา ราชาวดี ประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

การแนะนำสตรีต่อสตรี
การแนะนำบุคคลเพศเดียวกันให้รู้จักกัน ต้องยึดถือความอาวุโสเป็นสำคัญ เช่นแนะนำเพื่อนให้รู้จักมารดา จะต้องแนะนำว่า เจี๊ยบจ๋า นี่คุณแม่ของเรา จากนั้นจึงแนะนำให้คุณแม่รู้จัก เจี๊ยบว่าเป็นเพื่อนที่มหาวิทยาลัย คือแนะนำให้ผู้น้อยรู้จักผู้ใหญ่ก่อน

การแนะนำบุรุษแก่บุรุษ
ก็ใช้หลักการเดียวกันคือแนะนำให้ผู้น้อยรู้จักผู้ใหญ่ก่อน หรือถ้าอายุใกล้เคียงกันก็แนะนำกลางๆเช่น ขออนุญาตแนะนำให้คุณสองคนรู้จักกัน  คุณสมบูรณ์ พูนสุข ประธานบริษัทอุดมสมบูรณ์  คุณสดใส สว่างจ้า ผู้จัดการบริษัทแสงสว่างเรืองรองจำกัด ก็ใช้หลักการเดียวกันคือแนะนำให้ผู้น้อยรู้จักผู้ใหญ่ก่อน หรือถ้าอายุใกล้เคียงกันก็แนะนำกลางๆเช่น ขออนุญาตแนะนำให้คุณสองคนรู้จักกัน  คุณสมบูรณ์ พูนสุข ประธานบริษัทอุดมสมบูรณ์  คุณสดใส สว่างจ้า ผู้จัดการบริษัทแสงสว่างเรืองรองจำกัด